สพป.ตรัง เขต 2 ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) “เขตพื้นที่การศึกษาต้นแบบโรงเรียนคำพ่อสอน”

Share

นางพัทธนันท์ นิลพัฒน์  ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 (สพป.ตรัง) พร้อมด้วยศึกษานิเทศก์ สพป.ตรัง เขต 2 นาย วิเพลิน  ชุมพล ผอ.โรงเรียนบ้านท่าส้ม คณะครูแกนนำ และนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าส้ม เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและจัดทำ MOU โรงเรียนคำพ่อสอน สำหรับเขตพื้นที่ที่สมัครเข้าร่วมโครงการและมีโรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนคำพ่อสอน เพื่อพัฒนาเป็น “เขตพื้นที่การศึกษาต้นแบบโรงเรียนคำพ่อสอน” ให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และปลอดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า โดยมี ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานและร่วมลงนาม พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ประธานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) นางสาวอภิศา  มะหะมาน ผู้จัดการโครงการ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ ตัวแทนจาก มศว. เข้าร่วม ณ หอประชุมคุรุสภา กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2567

 

ผอ.สพป.ตรัง เขต 2 ได้นำเสนอที่มาและการดำเนินงานของโรงเรียนคำพ่อสอน (โรงเรียนบ้านท่าส้ม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง) ซึ่งได้สมัครเข้าร่วมเป็น“เขตพื้นที่การศึกษาต้นแบบโรงเรียนคำพ่อสอน” และเปิดศูนย์เรียนรู้และประสานงานโรงเรียนคำพ่อสอน เพื่อสานต่อคำสอนของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร  มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน สังคม ประเทศชาติ อีกทั้งเป็นการร่วมขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของประเทศ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และภาคี ซึ่งโครงการโรงเรียนคำพ่อสอนยังสอดคล้องกับนโยบาย และจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวมถึงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

 

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) โดยโครงการโรงเรียนคำพ่อสอน  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  (สสส.) ร่วมกับเครือข่ายครูดีไม่มีอบายมุข  ได้ดำเนินการโครงการโรงเรียนคำพ่อสอน ในปี2559  เพื่อน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  บรมนาถบพิตร  เนื่องใน 70 ปีแห่งการครองราชย์  ด้วยการน้อมนำคำสอนของพระองค์เพื่อการปฏิรูปการศึกษา  และคำสอนเพื่อการดำเนินชีวิตที่มิให้ตกเป็นทาสอบายมุข ลงสู่ภาคปฏิบัติในสถานศึกษา เพื่อให้นักเรียนเป็นคนดี           มีศีลธรรม พึ่งตนได้ ปลอดอบายมุข และเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง  (Self Esteem) ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีน้ำใจ ลดการบูลลี่ ลดความก้าวร้าวรุนแรง  ลดพฤติกรรมเสี่ยง ต่อการไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข เช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า สารเสพติด อีกทั้งยังเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง และชุมชน

 

โครงการโรงเรียนคำพ่อสอนได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาจากจุดเล็กๆ และระเบิดจากข้างใน ตามที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระราชทานไว้ในหลักการทรงงาน  โดยโครงการเริ่มต้นที่กระบวนการพัฒนาครูตามแนวทางจิตวิทยานีโอฮิวแมนนิส และกระบวนการเรียนรู้แบบ  Active Learning  ให้ครูเกิดความเข้าใจตนเอง  และเข้าใจจิตใจของนักเรียน จนนำไปสู่ความรักความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนซึ่งเป็นการเปิดประตูแห่งการเรียนรู้ 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top