รูปแบบการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยกระบวนการ (PLC) ผอ.ภูวดล เม่งช่วย

Share

ชื่อผลงาน รูปแบบการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี

  •           รายงานการวิจัย เรื่องรูปแบบการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง  ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  2)เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง  ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  3)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  4)เพื่อศึกษาผลการพัฒนานักเรียนกลุ่มเสี่ยงตามรูปแบบการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  5)เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงานวิจัยตามรูปแบบการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ประชากรหัวหน้ากลุ่มงานบริหารสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 จำนวน  4  คน ประชากรคณะกรรมการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2563  จำนวน 18 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างเครือข่ายผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 12 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน  ปีการศึกษา  2563  จำนวน 35  คน โดยดำเนินการเลือกแบบเจาะจงนักเรียนกลุ่มเสี่ยง  และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน  ปีการศึกษา  2563  จำนวน  35 คน โดยดำเนินการเลือกแบบเจาะจงผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย ทั้งสิ้น 4 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ที่มีการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง .895 – .953 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top